หนาวเหน็บ บนเทือกเขาสูง และ อดนอน ทำได้ยังไง ?

หนาวเหน็บ บนเทือกเขาสูง และ อดนอน ทำได้ยังไง ?

 

มนุษย์เดินดินบางคนมีคุณสมบัติทางกายภาพที่พิเศษเหนือคนทั่วไป บางคนอาจคิดว่าการมีพลังพิเศษเหนือธรรมชาติ แต่จริงแล้วพวกเขามีความสามารถพิเศษทางกายภาพที่คนทั่วไปไม่มี ความสามารถพิเศษเหล่านี้บางอย่างเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และบางกรณีเกิดจากการที่ร่างกายปรับตัวให้สอดรับกับวิถีการดำรงชีวิตของพวกเขา อาทิ เช่น อาศัยในพื้นที่สูงออกซิเจนจะเบาบางลง นอนน้อยกว่าคืนละ 6 ชั่วโมง ทำงานได้ตามปกติ หรือ ชาวเอสกิโม หนาวเหน็บแถบขั้วโลกเหนือ อยู่ได้อย่างสบาย เป็นต้น


ชาวเกชัว ในพื้นที่สูง 5,000 เมตรเหนือระดับน้ำ


โรคแพ้ที่สูง เกิดจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากในที่สูงออกซิเจนในอากาศจะเบาบางลง และความดันอากาศจะลดต่ำลง ส่งผลให้ความดันออกซิเจนในเลือดต่ำลง จากการวัดออกซิเจนในเลือด (SpO2) ได้จาก เครื่องวัดออกซิเจน ก็สามารถอ่านค่าปริมาณออกซิเจนและอัตราการเต้นของหัวใจผ่านหน้าจอได้ทันที รวมทั้งอากาศที่หนาวเย็น จะส่งผลให้ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น เพื่อใช้ให้พลังงานเพื่อคงอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

อาการแพ้ที่สูง มักเกิดขึ้นประมาณ 6-10 ชั่วโมงหลังจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง อาการแรก คืออาการปวดศีรษะ แต่ปวดไม่มาก และมีการร่วมดังต่อไปนี้อีกอย่างน้อย 1 อาการ คือ อ่อนเพลีย รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนล้า ไม่มีแรง มีอาการทางด้านทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็ว (ชีพจรเต้นเร็ว) เหนื่อย หายใจลำบาก (เมื่อออกแรง) วิงเวียน มึนงง จะเป็นลม และ นอนไม่หลับ


ชาวเกชัวชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในแถบเทือกเขาแอนดีส ถือเป็นคนอีกกลุ่มที่มีความสามารถทางกายภาพเหนือคนทั่วไป เพราะสามารถอาศัยบนที่สูง 5,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลได้โดยไม่เจ็บป่วยจากโรคแพ้ที่สูง (High altitude sickness) งานวิจัยชี้ว่า ชนพื้นเมืองชาวเกชัว แห่งเทือกเขาแอนดีส และชาวทิเบตในแถบเทือกเขาหิมาลัยมีลักษณะพิเศษที่ได้รับการคัดเลือกทางธรรมชาติ ทำให้พวกเขามีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมาะสมสำหรับการใช้ชีวิตในที่สูง


พวกเขามีวิวัฒนาการที่ทำให้ส่วนลำตัวใหญ่กว่าคนปกติ ซึ่งช่วยให้มีปอดที่ใหญ่กว่า ทำให้กักเก็บออกซิเจนได้มากกว่าปกติเวลาที่หายใจ ขณะที่ร่างกายคนทั่วไปผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากขึ้นเมื่อได้รับออกซิเจนน้อย แต่พวกเขากลับผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่า คุณสมบัติพิเศษทางพันธุกรรมนี้ได้รับการสืบทอดต่อกันมาหลายพันปีทำให้พวกเขามีความพิเศษทางกายภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะอพยพลงไปอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าก็ตาม

 

นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน ร่างกายทำงานได้ตามปกติ

 

คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องนอนระหว่าง 7-9 ชั่วโมงต่อคืนจึงจะรู้สึกว่าร่างกายได้พักผ่อนเต็มอิ่ม การอดนอนจะส่งผลต่อการมีสมาธิและสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ แต่การศึกษาในปีที่ผ่านมา ของสถาบันเวชศาสตร์การนอนหลับแห่งอเมริกา พบยีนกลายพันธุ์ตัวหนึ่ง คือ DEC2 ที่ทำให้ร่างกายของผู้ที่มียีนนี้สามารถทำงานได้ตามปกติแม้จะนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน นักวิจัยพบว่าคนที่มียีนกลายพันธุ์นี้จะมีอาการนอนหลับลึกแบบกรอกลูกตาไปมาอย่างรวดเร็ว (REM) ที่ข้นข้นกว่าคนทั่วไป ทำให้สามารถพักผ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อย่างไรก็ตาม นักวิจัยชี้ว่า ยีนกลายพันธุ์นี้พบในคนกลุ่มน้อยมาก หรือคิดเป็น 1% ของคนที่บอกว่าตนเองนอนน้อยกว่าคืนละ 6 ชั่วโมง ดังนั้นหากคุณนอนไม่ถึง 6 ชั่วโมงแล้วบอกว่าคุณรู้สึกสบายดีก็ให้ระวัง เพราะคุณอาจได้รับผลกระทบจากการนอนไม่เพียงพอเข้าสักวัน เราควรจำเป็นต้องนอนระหว่าง 7-9 ชั่วโมงต่อคืนจึงจะรู้สึกว่าร่างกายได้พักผ่อนเต็มอิ่ม คนที่รู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรง เนื่องจากนอนไม่พอ เครียด นอนไม่หลับ นอนไม่เป็นเวลา ถ้าเป็นแบบนี้ประจำก็ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ส่งผลให้ออกซิเจนในเลือดต่ํา อ่านค่าปริมาณออกซิเจนและอัตราการเต้นของหัวใจผ่าน เครื่องวัดออกซิเจน และแน่นอนว่าถ้ายังไม่มีการแก้ไข ก็จะส่งผลเสียอย่างมากต่อสุขภาพร่างกาย


ชาวเอสกิโม ทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นสุดขั้ว


ชาวอินูอิต ที่คนไทยรู้จักในนาม ชาวเอสกิโม ซึ่งอาศัยอยู่ในแถบขั้วโลกเหนือ และชาวเนเน็ตที่อาศัยอยู่แถบไซบีเรียของรัสเซีย สามารถปรับตัวให้ทนทานต่อสภาพอากาศที่หนาวเหน็บได้ ร่างกายของชาวอินูอิตตอบสนองต่ออากาศหนาวแตกต่างจากคนทั่วไป เพราะมีคุณสมบัติทางชีวภาพที่ต่างออกไป โดยผิวหนังของพวกเขาจะอุ่นกว่าพวกเรา เพราะมีอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกายที่สูงกว่า อีกทั้งยังมีเหงื่อออกน้อยกว่า ไม่เกิดอาการออกซิเจนในเลือดต่ําและไม่มีอาการสั่นสะท้านจากความเย็น


อุณหภูมิที่ลดตัวลงต่ำ อากาศที่หนาวเหน็บ ทำให้หัวใจของเราต้องทำงานหนักขึ้นในการปรับอุณหภูมิภายในร่างกายให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลาในฤดูหนาว อีกทั้งหลอดเลือดแดงจะมีการหดตัวในช่วงที่อากาศเย็น ทำให้การลำเลียงเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจนั้นยากมากขึ้น หัวใจจึงทำงานได้ไม่เต็มที่ และนอกจากนี้อากาศหนาวทำให้ความดันโลหิตและปริมาณโปรตีนในเลือดสูงขึ้นได้อีกเช่นกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มๆและขัดขวางการลำเลียงเลือดไปยังหัวใจและส่วนต่างๆของร่างกาย


คนส่วนใหญ่ไม่สามารถอาศัยอยู่ในกระท่อมน้ำแข็งแบบนี้ได้ระยะยาวเพราะทนสภาพหัวใจทำงานหนักไม่ได้ ร่างกายคนปกติมีอุณหภูมิระหว่าง 36.5 – 37.5 องศาเซลเซียสเหมาะกับการหายใจและปริมาณออกซิเจนในอากาศเพียงพอ ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงสามารถรับมือกับสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าอากาศหนาว คุณลักษณะนี้เกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรมโดยแท้ หากคุณไม่ใช่ชาวอินูอิตหรือชาวเนเน็ต คุณจะไม่สามารถพัฒนาคุณสมบัติพิเศษในการทนทานความหนาวเย็นเช่นนี้ได้แม้จะอาศัยอยู่ในขั้วโลกเหนือหลายสิบปีก็ตาม


Cr.ข่าวสด,Honestdocs,