เครื่องอ่านบาร์โค้ด ร้านสะดวกซื้อ


ใครยังไม่เคยซื้อสินค้าจากห้าง หรือร้านสะดวกซื้อ กันบ้าง? เชื่อว่าอัตราส่วนของคำตอบดังกล่าวคงอยู่ที่ 0.00001% เพราะนอกจากความศิวิไลซ์ที่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ปัจจุบัน ร้านค้าน้อย-ใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ในรูปแบบซื้อสะดวกและทันสมัยก็ได้ขยายตัวไปทั่วทุกแห่งหนของประเทศแล้ว ชีวิตประจำวันแต่ละคนจะต้องวนเวียนอยู่กับร้านสะดวกซื้อ ที่ใช้เทคโนโลยีใกล้ตัวอย่าง "บาร์โค้ด (Barcode)" แบบไม่รู้ตัว ทุกครั้งที่คุณซื้อสินค้าก็จะมีพนักงานขายใช้ เครื่องอ่านบาร์โค้ด(Barcode Scanner) อ่านรหัสบนตัวสินค้าในสต๊อกสินค้า ไม่เพียงแค่ร้านค้าต่าง ๆ  หรือ ห้ามสรรพสินค้าที่ใช้ระบบบาร์โค้ด เร็ว ๆ นี้อาจได้เห็นการใช้ระบบบาร์โค้ด (Barcode)ในโรงพยาบาลมากขึ้นกว่าแต่เดิม

บาร์โค้ด (Barcode) & โรงพยาบาล
รัฐบาลอินโดนีเซีย ร่วมกับกลุ่มบริษัท Australian PNORS Technology Group บริษัทเทคโนโลยีจากออสเตรเลียผู้เชียวชาญ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) เทคโนโลยีใกล้ตัว ที่ใช้กันในซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และ ร้านสะดวกซื้อ เตรียมเปลี่ยนระบบการบันทึกสต๊อก การจัดซื้อและจัดหายาเชื่อมโรงพยาบาลและศูนย์อนามัยทั่วประเทศเป็นระบบดิจิตอลด้วยบาร์โค้ด (Barcode) เพื่อสร้างระบบดิจิตอลเชื่อมห่วงโซ่อุปทานสต๊อกสินค้าของผู้จัดจำหน่ายและการจัดหายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลและสถานีอนามัยของอินโดนีเซียเป็นระบบเดียวกัน เพื่อลดสต๊อกสินค้า ประหยัดต้นทุนยา แก้ปัญหายาขาด ยาหมดอายุและยาปลอม เผยมีเป้าหมายเชื่อมบาร์โค้ด (Barcode)ทั้งประเทศภายใน 9 ปี รายงานจากหนังสือพิมพ์ เดอะจาการ์ตาโพสต์

สถานีอนามัยอินโดนีเซีย & บาร์โค้ด (Barcode)
ซีอีโอ ของบริษัท Australian PNORS Technology Group ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการบาร์โค้ด (Barcode)ที่จะจัดทำขึ้นภายใต้สัญญาเอ็มโอยูฉบับนี้ จะรวมถึงการทำระบบบาร์โค้ดที่เป็นสากลที่ใช้กันในซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และ ร้านสะดวกซื้อ นำมาพัฒนาสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ การสร้างระบบการจัดซื้อจัดหาและสต๊อกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับโรงพยาบาลและสถานีอนามัยนำร่อง การทำให้ห่วงโซอุปทานยาเป็นบาร์โค้ด (Barcode) อ่านข้อมูลผ่าน เครื่องอ่านบาร์โค้ด(Barcode Scanner) บนเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์จะช่วยแก้ ปัญหายาขาดสต๊อก ยาหมดอายุและยาปลอม ที่เป็นปัญหาสำหรับโรงพยาบาลและสถานีอนามัยในอินโดนีเซียก่อนหน้านี้

บาร์โค้ด (Barcode) & ประวัติ ความเป็นมา
แล้วคุณรู้จักประวัติ ความเป็นมาของเจ้าเทคโนโลยี เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) นี้แค่ไหน เราจะพาไปหาคำตอบ… หนึ่งในเทคโนโลยี ใกล้ตัวที่เราได้พบเห็นและเรียกว่าผูกพันอยู่กับวิถีการจับจ่ายของเรา แต่อาจไม่เคยรู้ที่มาที่ไปก็คือ "บาร์โค้ด" (Barcode) ซึ่งเราได้รวบรวมเรื่องน่ารู้และความเป็นมาของบาร์โค้ดมาฝากกัน!

ต้นแบบเทคโนโลยี บาร์โค้ด (Barcode) 
มาจากแนวคิดของ Wallace Flint นักศึกษามหาวิทยาลัย Harvard ในปี 1932 ซึ่งใช้บัตรเจาะรูเป็นตัวกำหนดรหัสสินค้าแล้วนำไปตอกในเครื่องอ่าน ต่อมา Bernard Silver นักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยี Drexel ได้นำมาพัฒนาต่อ โดยใช้หมึกเรืองแสงและการฉายแสง UV แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่เสถียรในการใช้งานและต้นทุนสูง

บาร์โค้ด (Barcode) แบบแรกของโลก
Joseph Woodland ได้ช่วยเหลือ Bernard Silver จนทำให้ทั้ง 2 คน สามารถจดสิทธิบัตรการออกแบบบาร์โค้ด (Barcode) เป็นครั้งแรก ในวันที่ 7 ต.ค.1952 โดยมีรูปแบบในขั้นแรกเป็นวงกลมคล้ายแผ่นปาเป้า ซึ่งถูกนำไปทดลองใช้งานเป็นครั้งแรกที่ร้านค้าเครือ Kroger ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ปี 1967

เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องแรกของโลก
ในเดือนมิ.ย. 1974 เครื่องสแกนบาร์โค้ด ก็ถูกพัฒนาขึ้นสำเร็จ ทั้งยังมีการปรับปรุงให้ บาร์โค้ด (Barcode)กลายเป็นลักษณะแบบแท่งบาร์โค้ด (Barcode)และมีตัวเลขเช่นเดียวกับในปัจจุบัน เพียง 26 วัน หลังจากเครื่องสแกนบาร์โค้ดหรือบางที่เรียกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ถูกพัฒนาขึ้น ก็มีการนำไปใช้งานจริงเป็นครั้งแรกในซุปเปอร์มาร์เก็ตทันที โดยสินค้าแรกที่ถูกสแกน คือ หมากฝรั่ง Wringley

รหัสแท่งหรือบาร์โค้ด
"รหัสแท่ง" คือ ชื่อเรียกภาษาไทยของบาร์โค้ด การทำงานของบาร์โค้ดใช้รูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้าง-ถี่ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ด้านล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสงของเครื่องสแกน เพื่อนอ่านข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ ความสะดวก รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ รวมถึงโอกาสผิดพลาดเพียง 1 ใน 10,000,000 ทำให้ระบบบาร์โค้ดได้รับความนิยมไปทั่วโลก ประเทศไทยมี เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner)ใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2530 โดยสภาอุตสาหกกรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบสิทธิ์นายทะเบียนรับสมัครสมาชิกจดทะเบียนบาร์โค้ด ซึ่งทำให้ระบบดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทันที

QR Code บาร์โค้ด 2 มิติ
จากการใช้งานเพื่อสแกนสินค้าในยุคแรกได้ใช้ ปัจจุบันบาร์โค้ดถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและถูกนำไปใช้ในหลากลายช่องทาง อาทิ เกม การแอดเพื่อนบนโซเชียล หรือการดูรายละเอียดเพิ่มเติมของสต๊อกสินค้าในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ เนื่องจากข้อจำกัดของบาร์โค้ดแบบรหัสแท่ง ซึ่งเก็บค่าตัวเลขหรือตัวอักษรได้ค่อนข้างจำกัด จึงมีการพัฒนา บาร์โค้ด 2 มิติ ตามยุคสมัยที่มีความเจริญมากขึ้นเพื่อรองรับกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น QR code เป็นหนึ่งในบาร์โค้ด 2 มิติที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน โดยนำมาใช้เก็บข้อมูล URL ที่อยู่เว็บไซต์, ข้อความ, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลตัวอักษรต่างๆ


เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner)

รีวิวการใช้งาน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ชนิด CCD สแกนรวดเร็วแม่นยำ
เพื่อความคมชัด ควรปรับคุณภาพวีดีโอเป็น 720P Hd ในการรับชม




Cr. ข่าว FHM,ประชาชาติธุรกิจ